วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555




เทคนิคการภ่ายภาพ




การจัดองค์ประกอบภาพ



(ภาพจาก :http://www.bpsthai.org/ )


           หลายต่อหลายครั้งเมื่อเราได้เห็นภาพจากนักถ่ายภาพที่มีประสบการณ์ เรามักจะเกิดความรู้สึกว่า ทำไมภาพที่ออกมาช่างดูดี ทั้งๆที่บางครั้งกล้องที่เค้าใช้นั้นก็ไม่ได้เป็นกล้องโปร หรือเลนส์โปรแต่อย่างใด หากมองให้ดี นอกจากความสวยงามในภาพแล้ว สิ่งที่ถือว่าสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้ภาพดูดีได้ก็คือ องค์ประกอบภาพ การจัดองค์ประกอบภาพที่ดีนั้นจะช่วยให้ภาพที่ได้ออกมาดูน่าสนใจมากขึ้น ถึงแม้จะไม่มีสิ่งใดเป็นข้อบ่งชี้ว่า ภาพนั้นภาพนี้จัดองค์ประกอบภาพถูกหรือผิด แต่เราสามารถทำให้ภาพดูน่าสนใจได้ เพียงแค่เรารู้วิธีในการจัดวางตำแหน่งในภาพที่ดี ก็ช่วยให้สามารถพัฒนาความคิดวิธีการจัดองค์ประกอบให้เป็นในแบบของเราได้แล้ว.


ทำความเข้าใจเรื่องของกฎสามส่วน

( ภาพจาก http://www.pixview.net/ )

         เป็นหนึ่งในกฎที่นิยมใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายและช่วยให้ภาพดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กฎสามส่วนนี้จะให้เราแบ่งภาพออกเป็นสามส่วนทั้งแนวนอนและแนวตั้งโดยมีพื้นที่เท่าๆกัน จะเกิดจุดตัดขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม เวลาถ่ายภาพก็ให้เรานำวัตถุที่ต้องการถ่าย วางไว้ตามจุดตัดที่เกิดขึ้นมาจะทำให้ภาพดูดีกว่าการนำวัตถุวางไว้แต่ตรงกลางของภาพ


สร้างฉากหน้าและฉากหลัง



( ภาพจาก : https://fbcdn-sphotos-a.akamaihd.net/)

           ทำให้ผู้ที่มาดูภาพรู้ว่าสิ่งใดคือฉากหน้าสิ่งใดคือฉากหลังโดยการ เลือกรูรับแสงกว้างๆ จะช่วยให้ภาพมีฉากหลังที่เบลอมากขึ้น หากต้องการให้เห็นถึงวัตถุรอบๆ ให้ใช้รูรับแสงที่แคบ และปล่อยให้ฉากหลังเล่าถึงสิ่งแวดล้อมของวัตถุในขณะนั้น. นอกจากนั้น การใช้ช่วงซูมมากๆ จะช่วยให้ฉากหลังกับวัตถุดูเป็นมิติมากยิ่งขึ้น


เลือกมุมมองที่ไม่เหมือนใคร


(ภาพจาก :http://www.bpsthai.org/ )

           การมีมุมกล้องที่แปลกไปจากสายตาของคนทั่วไป ย่อมจะช่วยให้ภาพดีน่าสนใจ มีคำกล่าวไว้ว่าหากยืนถ่ายแล้วยังดูไม่ชอบก็ให้ลองนั่งคุกเข่าถ่าย และหากนั่งยังไม่ได้ ก็ให้นอนถ่ายไปเลย บางครั้งมุมกล้องสูงๆเช่น จากบันไดก็ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจได้อีกด้วย




เอาใจใส่ต่อสิ่งที่เข้ามาอยู่ในภาพ



(ภาพจาก :http://www.bpsthai.org/ )


           ทุกครั้งที่คุณยกกล้องขึ้นมาถ่ายขอให้คิดเสมอว่า "อะไรที่คุณกำลังอยากให้เข้ามาอยู่ในภาพของคุณ จริงๆ" พยายามให้ความสนใจในสิ่งที่จะเข้ามาอยู่ในภาพ โดยการจัดตำแหน่งของวัตถุหลักให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและจากนั้นจึงมองไปรอบๆ เฟรมภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ต้องการให้เข้ามาในภาพของเรา





มองหาเส้นนำสายตา






(ภาพจาก :http://www.bpsthai.org/ )




           การนำเส้นนำสายตาไปยังวัตถุที่เราต้องการ สามารถทำได้ง่ายๆหากคุณหมั่นสังเกตุสิ่งรอบๆ ตัวจะเห็นได้ว่าหลายสิ่งสามารถนำมาช่วยให้เป็นเส้นนำสายตาได้



นำแพททอร์นเข้ามาช่วย





          ไม่ว่าจากธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้าง เราสามารถนำลวดลายเหล่านี้เข้ามาใช้เพิ่มความน่าสนใจได้ทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น รูปคลื่นของบรรดานกที่กำลังบิน ลวดลายของท่อน้ำ ลายของกำแพง.



มองเข้าไปใกล้ๆ



( ภาพจาก : http://board.postjung.com/522539.html)



          ลองเล่นกับลักษณะของพื้นผิว รายละเอียด เช่น หยดน้ำ น้ำค้าง เปลือกต้นไม้ รอยหยักตามใบหน้าคน เหล่านี้จะบอกถึงสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาของสิ่งที่เราถ่ายได้ดี





หลุดจากกรอบภาพเดิมๆ



           ข้อดีของการใช้กล้องดิจิทัลคือคุณสามารถนำภาพมาแต่งในคอมพิวเตอร์ได้ คุณไม่จำเป็นต้องให้ภาพมีขนาดอยู่แค่ 4*6, 5*7 หรือ 8*10 ให้ลองคิดว่าจะนำเสนออะไรในภาพ ส่วนที่ไม่ต้องการสามารถตัดออกได้ด้วยการคร๊อป ทั้งนี้อาจจะให้ภาพออกมาในลักษณะแนวนอนแบบพาโนราม่า หรือแนวตั้งก็ได้.

อย่าลืม ตัวแปรของการถ่ายภาพนั้นขึ้นอยู่ที่คุณ มุมมอง ความคิด จินตนาการ สามารถพัฒนาต่อไปเป็นสไตล์ของคุณได้ อย่าเพียงแค่ยึดติดกับมัน แล้วคุณจะสนุกกับการถ่ายมากยิ่งขึ้น.



Night Picture ถ่ายภาพกลางคืน


( ภาพจาก : http://1.bp.blogspot.com/ )


วิธีการถ่ายภาพกลางคืน

1. ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง  พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
2. ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
3. คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง (โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8)
4. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ  10 -60 วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้  
              การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลาย ๆ ภาพ โดยใช้เวลาในการบันทึกภาพ และขนาดรูรับแสงต่าง ๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด  และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้